THA - Ayudtaya

อยุธยา  สถานที่ท่องเที่ยว เมืองเก่า 
11 June 2004
เมื่อประมาณเนดือนมิถุนายน 2004  พี่ประสิทธิ์ได้เดินทางจาก New Jersey เพื่อกลับมาเยี่ยมเยียนพี่ๆ น้องๆ ที่บ้านในกรุงเทพ พวกเราขอจัดพาไปเที่ยวอยุธยา เมืองเก่า พาเยี่ยมวัดไหว้พระ แต่ก่อนออกเดินทางก็ต้องไปกินอาหารเช้ากันก่อน เราตั้งใจขับรถเข้าเมืองจะพากันไปกินข้าวมันไก่เจ้าอร่อยดั้งเดิมแถวๆ คลองเตย แต่ปรากฎว่าหากันไม่เจอ ไม่รู้ว่าร้านได้ย้ายไปหรือเลิกกิจการ  เราเลยต้องกล้ับมากกินก๋วยเตี๋ยวปลาช่อง 3 ชวนชิมก้ัน ที่ในเมืองทองธานี  กินอาหารเช้ากันเร็จเรียบร้อยก็ออกเดินทางมุ่งหน้าไปอยุธยาักัน

วิหารมงคลบพิต  ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่างปี พ.ศ. 1991–2145 

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 ยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหาย จึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่  เมื่อกรุงศรีอยุธยาครั้งที่  2

เมื่อพ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาพะกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่บริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านาย เหมือนกับท้องสนามหลวงในกรุงเทพ



วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระแก้วในกรุงเทพมหรือวัดมหาธาตุที่จังหวัดสุโขทัย ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาที่วัดนี้

คุ้มขุนแผ ตั้งอยู่ที่ถนนป่าโทน เป็นตัวอย่างของหมู่เรือนไทยภาคกลาง ในรูปแบบเรือนคหบดีไทยสมัยโบราณ เดิมเป็นจวนสมุหเทศาภิบาล สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2437 ที่เกาะลอยบริเวณสะพานเกลือ

ต่อมาในราวปีพ.ศ. 2483 ปรีดี พนมยงค์ ได้ย้ายจวนหลังนี้มาสร้างในบริเวณคุกนครบาลเก่าของพระนครศรีอยุธยา  และในปี พ.ศ. 2499 ได้สร้างเรือนไทยเพิ่มขึ้นอีก 5 หลัง และตั้งชื่อเรือนไทยนี้ว่าคุ้มขุนแผน ตั้งอยู่กลางเกาะทางด้านใต้วิหารพระมงคลบพิตร หันหน้าสู่ถนนศรีสรรเพชญ์ และถนนป่าตอง ตำบลประตูชัย สร้างไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษารูปบ้านไทยในชนบทสมัยโบราณในการจัดบ้านอย่างไร มี เรือนเอก เรือนโท หอพระ หอเครื่อง หอนั่ง ครัวไฟ ซึ่งทุกวันนี้รูปแบบบ้านไทย โบราณกำลังจะหมดไป


ปางช้าง (แลเพนียด) เมื่อมาถึงอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นอกจากโบราณสถาน ร้านค้า และต้นไม้แล้ว สิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจอีกมากๆ ก็คือ ช้างตัวใหญ่ใจดี ที่แต่งองค์ทรงเครื่องสวยงาม เดินโยกย้าย พานักท่องเที่ยวเดินชมทิวทัศน์รอบๆ กรุงเก่า  เราซื้ออาหารเลี้ยงช้างได้



ปางช้างอยุธยา (แลเพนียด) เปิดให้บริการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2540 เพื่อจะลดปัญหาของควาญช้างนำช้างเข้ามาเร่ร่อน หากินในเมืองหลวง คุณสมพาสน์ มีพันธุ์ จึงรวบรวมช้าง และควาญ เหล่านั้นมาทำการฝึกอบรม เพื่อใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว จนถึงวันนี้ "ปางช้าง" เปลี่ยนเป็น "วังช้าง" มีช้างในสังกัด 60 เชือก และช้างสมาชิกอีกประมาณ 50 เชือก รวมแล้วมีช้างประมาณ 100 เชือก ที่มีให้บริการ นักท่องเที่ยว ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ 


วัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยา เป็นวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร  และ ดูแลอย่างดีมาตลอดจนถึงสมัยยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2






วิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน   

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทองเมื่อ พ.ศ. 1900 สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมา
ในปีพ.ศ.2135 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ  ให้ชื่อว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ชาาวบ้านเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” และก็เพี้ยนมาจนเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” วัดนี้ร้างตอนคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย และเพิ่งจะจัดตั้งให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาได้

พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้ไปนมัสการเป็นจำนวนมาก  ค่าเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ คนละ 20 บาท

1 comment:

Anonymous said...

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับบทความที่นำมาแบ่งปันให้กัน