THA-Doi Angkhang,Chiangmai 2006

27 December 2006
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง (ดอยอ่างขาง)จังหวัดเชียงใหม่ (Royal Agriculture Station Angkhang, Chiangmai) เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ในเขตหมู่บ้านคุ้ม หมู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน 
ปัจจุบัน ดอยอ่างขาง ได้เปลี่ยนสภาพจากภูเขาซึ่งถูกตัดไม้ทำลายป่ามาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ผลกว่า 12 ชนิด ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด และไม้ดอกเมืองหนาวมากกว่า 20 ชนิด สภาพอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่โดยรอบกว่า 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน 

เรื่องกำเนิดของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง (ดอยอ่างขาง) แห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อปี 2512 มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ มีการจำหน่ายผลิตผลตามฤดูกาลที่ปลูกในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวในสถานีฯ มีที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยวดูรายละเอียดในข้อมูลที่พัก

อากาศบนดอยอ่างขาง หนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่

กินอาหารกลางวันที่ร้านอาหารบนดอยอ่างขาง
ชนเผ่าในพื้นที่สถานีฯ อ่างขางประกอบไปด้วยชน 4 เผ่า ชาวไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนยูนนาน มี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซสเซียส ในเดือนเมษายน และ อุณหภูมิต่ำสุด -3 องศาเซสเซียส ในเดือนมกราคม


 
 
 



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


ที่พักของสถานีเกษตรอ่างขาง
ติดต่อสำรองที่พักได้ที่ 053-450107
ที่พัก ร้านอาหา
บ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 18 หลัง
ขนาดพัก 2 คน ราคา 1,000 บาท/หลัง/คืน
ขนาดพัก 6 คน ราคา 1,200 บาท/หลัง/คืน
และขนาดพัก 40 คน ราคา 150 บาท/คน/คืน
เต็นท์บริการ ขนาด 2-3 คน ราคา 150 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอนราคา 300 บาท/หลัง/คืน ขนาด 4-5 คน ราคา 300 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอน ราคา 500 บาท/หลัง/คืน กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการพื้นที่คนละ 20 บาท
มีร้านอาหารและเครื่องดื่มภายในสโมสรอ่างขาง
หมายเหตุ.- กรุณาสำรองที่พักล่วงหน้าก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน โทร. 0-5345-0107-9
ที่พักเอกชนรอบ ๆ สถานนีก็มี เช่น
บ้านหลวงรีสอร์ท ติดต่อคุณธวัชชัย 081-881-8114 หรือ 053-450010
อ่างขางวิลล่า ติดต่อคุณเจิน 053-450010,450023

 
 
 
สวนจำพวกพืชทะเลทรา เป็นพวกตะบองเพชร และสวนบอนไทร อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
 
 
 
 
 
 
 



ดอกกุหลาบที่ปลูกในเรือนเพาะชำ จะมีขนาดใหญ่ และสีสดสวยงาม ก้านใหญ่แข็งแรง


  



  
  
  
การเดินทางไปดอยอ่างขาง
เส้นทางที่ 1 จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงสาย 107 เชียงใหม่-ฝาง เลี้ยวซ้ายทางแยกตำบลเมืองงาย ตรงเข้าเส้นทางหลวงสาย1178 ผ่านบ้านอรุโณทัยไปยังศูนย์ฯ
เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงสาย 107 เชียงใหม่-ฝาง ถึง กม. 137 แยกบ้านปางควาย เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงสาย 1249 ตรงไปประมาณ 25 กิโลเมตร

28 December 2006 ประวัติของวัดโลกโมฬี มีปรากฏในสมัยของพระเจ้ากือนา ทรงโปรดให้คณะสงฆ์ของพระมหาอุทุมพรบุปผา มหาสวามี จำนวน 10 รูป จำพรรษาอยู่ที่วัดโลก สมัยพระเมืองแก้วในปี พ.ศ.2070 โปรดให้สร้างวิหารและมหาเจดีย์ ในปี พ.ศ.2088 วัดแห่งนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ส่วนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมองค์เจดีย์ มีอายุในช่วง พุทธศตวรรษที่ 21
 
ด้านหน้าวัดโลกโมฬี เชียงใหม่
 
เจดีย์ของวัดโลกโมฬีในปัจจุบันเป็นเจดีย์ที่สร้างปลาย พุทธศตวรรษที่ 21 ตำนานระบุว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระเมืองเกศเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2071 เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ได้มีการบูรณะมาอย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนารูปแบบเจดีย์โดยเพิ่มความสูงของเจดีย์ที่ส่วนฐาน 
 
หน้าประตูทางเข้าวัดโลกโมฬี มีลวดลายละเอียด

งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549- 31 มกราคม 2550
งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549- 31 มกราคม 2550 นี้ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง ต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่ บนพื้นที่ 470 ไร่ เป็นงานที่รวบรวมสุดยอดความมหัศจรรย์แห่งพรรณไม้นานาชนิด ในพื้นที่เขตร้อนชื้นที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรรณไม้มากมายกว่า 2,200 ชนิด
เป็นงานมหกรรมระดับโลกที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯพระมหากษัตริย์ผู้เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย การจัดงานครั้งนี้ จึงกำหนดจัดอย่างยิ่งใหญ่ โดยมุ่งเน้นการเผยแผ่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพในด้านการเกษตรกรรม และโครงการในพระราชดำริ ซึ่งได้ทรงคิดค้นและก่อตั้ง เพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน
 
หอคำหลวง (Royal Pavilion) คือ พื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นที่สุดของงาน ตั้งอยู่บนเนินดิน เนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร
บริเวณถนนทางเข้าตกแต่งด้วยซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ 30 ซุ้ม แต่ละซุ้มมีกรอบภาพพระบรมฉายาลักษณ์สี่ด้านติดกัน นำเสนอพระราชกรณียกิจและพระบรมราโชวาท ขนาบด้วยต้นราชพฤกษ์ตลอดสองข้างทาง ส่วนตัวอาคารเป็นเรือนไม้ครึ่งตึก 2ชั้น ที่มีความสง่างามสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา
หอคำหลวง ใช้ในการจัดแสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นบนของหอคำหลวง ที่ผนังทั้ง 3 ด้าน ตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังภาพวาด พระราชกรณียกิจในการเยี่ยมราษฏร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อยู่ในใจของพสกนิกรตลอด 60 ปี ที่ทรงครองราชสมบัติ พร้อมทั้งจัดแสดงภาพพระราชจริยวัตร ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระเยาว์ และจัดทำปฏิมากรรมพร้อมฐานที่ควรค่าแก่การเคารพบูชา เป็นสัญลักษณ์ของต้นไม้แห่งทศพิธราชธรรม ซึ่งในเบื้องต้นนี้จะใช้ชื่อว่า “ต้นบรมโพธิสมภาร” มีใบไม้ 21,915 ใบ เท่ากับจำนวนวันที่ทรงครองราชย์ตลอดระยะเวลา 60 ปี โดยจัดทำเป็นอักษรนูนต่ำ ที่มีข้อความเป็นภาษาบาลีเกี่ยวกับเรื่องทศพิธราชธรรม เพื่อใช้เป็นที่สำหรับให้ประชาชนมาสักการะ
บรรยากาศภายในงาน พืชสวนโลก
 
 
 
 
 
 
 
29 December 2006
 
เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งและเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ แห่งแรกของประเทศไทย เดิมชื่อเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล
ลักษะของเขื่อนเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ 8 ของโลก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว486เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 3,462 ล้านลูกบาศก์เมตร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2504 การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วย งานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้าซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมและ 15 มิถุนายน 2507 ตามลำดับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507 ต่อมาได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 3-6 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ และเครื่องที่ 7 กำลังผลิต 115,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ใน วันที่ 11 พฤษภาคมวันที่ 9 สิงหาคม 2510 วันที่ 25 ตุลาคม วันที่ 19 สิงหาคม 2512และวันที่ 18 ตุลาคม 2525 (http://www.bhumiboldam.egat.com/DESIGN/history_dam1.html)

No comments: